องค์ประกอบของโปรแกรม
โปรแกรมภาษาซีมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือไฟล์ส่วนหัวโปรแกรม และไฟล์โปรแกรม ไฟล์ส่วนหัวโปรแกรมเป็นไฟล์ที่ใช้เก็บไลบราลีเพื่อใช้รวม (include) ในการคอมไพล์โปรแกรมซึ่งจะมีส่วนขยายเป็น *.h มีชื่อเรียกว่า Compiler Directive ไฟล์โปรแกรมจะเริ่มต้นด้วยฟังก์ชัน main() และตามด้วยเครื่องหมายปีกกาเปิด เพื่อเริ่มต้นเขียนโปรแกรม การเขียนโปรแกรมจะต้องเขียนด้วยอักษาภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กเสอม และเมื่อจบประโยคคำสั่ง จะใช้เครื่องหมายเซมิโคล่อน ( ; ) ในการคั่นแต่ละคำสั่ง ภายในโปรแกรมจะประกอบด้วยฟังก์ขันและส่วนของคำอธิบาย เมื่อเขียนคำสั่งเสร็จจะปิดท้ายโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาปิดเสมอ
#include<library /* ไฟล์ส่วนหัวโปรแกรม*/
void main(void) / *ฟังก์ชันหลักของโปรแกรม*/
{ /*เริ่มต้นการเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาเปิด*/
variable declaration; /*การประกาศค่าตัวแปรที่ใช้ในโปรแกรม*/
program statement; /*ประโยคคำสั่งในโปรแกรม*/
} /*จบการเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาปิด*/
ตัวแปร (variable)
คือ ชื่อที่ผู้เขียนโปรแกรมตั้งขึ้น เพื่อใช้เก็บค่าที่ต้องการนำมาใช้งานในการเขียนโปรแกรม เพื่อทำการประมวลผลข้อมูล โดยมีกฏในการตั้งชื่อตัวแปรดังนี้
1.
| ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ตัวต่อไปอาจจะเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขก็ได้ |
2.
| ห้ามใช้สัญลักษณ์อื่นใด ยกเว้นเครื่องหมายสตริงก์ ($) และขีดล่าง (Underscore) |
3.
| ตัวแปรอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่มีความหมายแตกต่างกัน |
4.
| ห้ามเว้นวรรคระหว่างตัวแปร |
5.
| ห้ามตั้งชื่อซ้ำกับคำสงวนในภาษาซี |
ก่อนที่จะนำตัวแปรไปใช้งาน ในภาษาซีจะต้องมีการประกาศค่าตัวแปรให้สอดคล้องกับข้อมูลที่จะนำไปใช้โดยมีรูปแบบดังนี้
รูปแบบ
|
Type varible name
|
type
|
ชนิดของตัวแปร ซึ่งอาจจะป็น char, int, float, double หรือตัวแปรชนิดอื่นๆ เป็นต้น
|
variable name
|
ชื่อของตัวแปร ถ้ามีมากกว่า 1 ตัวให้ใช้เครื่องหมายคอมม่าคั่น
|
char n;
|
ประกาศค่าตัวแปรชื่อ n เป็นข้อมูลชนิด character
|
float a,b,c;
|
ประกาศค่าตัวแปรชื่อ a,b,c เป็นข้อมูลชนิด float
|
int number=1;
|
ประกาศค่าตัวแปรชื่อ number เป็นข้อมูลชนิด integer และกำหนดให้ตัวแปร count มีค่าเท่ากับ 1
|
char name[15];
|
ประกาศตัวแปรชื่อ name เป็นลักษณะตัวแปรชุดเก็บชื่อยาวไม่เกิน 15 ตัวอักษร
|
คำสงวน( Reserved Words )
คือคำที่กำหนดขึ้นในภาษาซีเพื่อให้มีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง และนำไปใช้งานแตกต่างกัน การประกาศค่าตัวแปรจะต้องไม่ให้ซ้ำกับคำสงวน
Auto
|
Break
|
Case
|
Char
|
Const
|
Default
|
Do
|
Double
|
Else
|
Enum
|
Short
|
Signed
|
Sizeof
|
Extern
|
Float
|
For
|
Goto
|
If
|
Int
|
Long
|
Return
|
Register
|
Continue
|
While
|
Static
|
Struct
|
Switch
|
Typedef
|
Unon
|
Unsigned
|
Void
|
volatile
|
ฟังก์ชัน Function
ฟังก์ชัน clrscr(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการลบจอภาพ
|
ฟังก์ชัน printf(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลที่อยู่ในตัวแปร ค่าคงที่ และนิพจน์ออกจอภาพ
| |
ตัวอย่างที่ 1
|
printf(“Kotchawan”); ความหมาย แสดงข้อความ Kotchawan ออกทางจอภาพ
|
ตัวอย่างที่ 2
|
printf(“%d”,num); ความหมาย แสดงค่าตัวแปร num ในรูปเลขจำนวนเต็ม
|
ตัวอย่างที่ 3 |
printf(“5.2f”,area); ความหมาย แสดงค่าที่เก็บอยู่ในตัวแปร area โดยจองพื้นที่ไว้ 5 ช่องทศนิยม 2 ตำแหน่ง
|
ฟังก์ชัน scanf(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์เข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร
| |
ตัวอย่าง
|
scanf(“%d”,&num); ความหมาย รับค่าตัวเลขจำนวนเต็มแล้วนำมาเก็บไว้ในตัวแปร num
|
ฟังก์ชัน getch(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรอรับการกดแป้นพิมพ์หนึ่งครั้ง โดยไม่ต้องกดปุ่ม Enter
และตัวอักษรที่ป้อนเข้ามาจะไม่ปรากฏบนจอภาพ |
ฟังก์ชัน getchar(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลเข้ามาทางแป้นพิมพ์ทีละ 1 ตัวอักษร แล้วกด Enter 1 ครั้ง ข้อมูลที่ป้อนจะแสดงบนจอภาพ
|
ฟังก์ชัน gets(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลที่เป็นข้อความจากแป้นพิมพ์เข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร แบบอาเรย์ การใช้ฟังก์ชัน gets(); จะต้องมีการประกาศตัวแปรแบบอาเรย์ และกำหนดจำนวนตัวอักษรที่ต้องการป้อน โดยคอมพิวเตอร์จะจองพื้นที่ไว้ตามจำนวนตัวอักษร แต่จะป้อนได้น้อยกว่าที่จองไว้ 1 ตัว เพื่อให้ตัวแปรเก็บ 0 อีก 1 ตัว
|
ฟังก์ชัน textcolor(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการกำหนดสีตัวอักษร โดยจะต้องใช้ร่วมกับฟังก์ชัน cprintf ซึ่งมีสีต่างๆ ให้เลือก ตัวเลขค่าสีอาจจะพิมพ์เป็นตัวเลขหรือชื่อสีเป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ก็ได้
| ||
ตัวอย่างที่ 1
|
textcolor(4);
cprintf(“Kotchawan”); |
ความหมาย แสดงข้อความ Kotchawan เป็นสีแดง
|
ตัวอย่างที่ 2
|
textcolor(MAGENTA);
cprintf(“BANGKOK”); |
ความหมาย แสดงข้อความ BANGKOK เป็นสีม่วง
|
ตัวเลขค่าสี
|
สีที่ปรากฏ
|
0
|
(BLACK) ดำ
|
1
|
(BLUE) น้ำเงิน
|
2
|
(GREEN) เขียว
|
3
|
(CYAN) ฟ้า
|
4
|
(RED) แดง
|
5
|
(MAGENTA) ม่วง
|
6
|
(BROWN) น้ำตาล
|
7
|
(LIGHTGRAY) เทาสว่าง
|
8
|
(DARKGRAY) เทาดำ
|
9
|
(LIGHTBLUE) น้ำเงินสว่าง
|
10
|
(LIGHTGREEN) เขียวสว่าง
|
11
|
(LIGHTCYAN) ฟ้าสว่าง
|
12
|
(LIGHTRED) แดงสว่าง
|
13
|
(LIGHTMAGENTA) ม่วงสว่าง
|
14
|
(YELLOW) เหลือง
|
15
|
(WHITE) ขาว
|
ฟังก์ชัน cprintf(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการพิมพ์ข้อความเหมือนฟังก์ชัน printf แต่จะแสดงเป็นสีต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในฟังก์ชัน textcolor การใช้ฟังก์ชัน cprintf ต้องกำหนดสีของตัวอักษรใน ฟังก์ชัน textcolor ก่อน
| |
ตัวอย่างที่ 1
|
textcolor(5);
printf(“Kotchawan”); ความหมาย แสดงข้อความ Kotchawan ออกทางจอภาพ |
ตัวอย่างที่ 2
|
textcolor(15);
printf(“%d”,num); ความหมาย แสดงค่าตัวแปร num ในรูปเลขจำนวนเต็ม |
ตัวอย่างที่ 3
|
textcolor(7);
printf(“5.2f”,area); ความหมาย แสดงค่าที่เก็บอยู่ในตัวแปร area โดยจองพื้นที่ไว้ 5 ช่อง ทศนิยม 2 ตำแหน่ง |
ใช้ฟังก์ชัน textbackground(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการกำหนดสีพื้นให้กับตัวอักษร
| ||
ตัวอย่าง
|
textbackground(14)
|
ความหมาย กำหนดสีพื้นเป็นสีเหลือง
|
ชนิดของข้อมูล (Data Type)
ภาษาซีเป็นอีกภาษาหนึ่งที่มีชนิดของข้อมูลให้ใช้งานหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งชนิดของข้อมูลแต่ละอย่างมีขนาดเนื้อที่ที่ใช้ในหน่วยความจำที่แตกต่างกัน และเนื่องจากการที่มีขนาดที่แตกต่างกัน ทำให้มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลแต่ละประเภทแตกต่างกันไป ดังนั้นในการเลือกงานประเภทข้อมูลก็ควรจะคำนึงถึงความจำเป็นในการใช้งานด้วย สำหรับประเภทของข้อมูลมีดังนี้คือ
1
|
ข้อมูลชนิดตัวอักษร (Character)
|
คือข้อมูลที่เป็นรหัสแทนตัวอักษรหรือค่าจำนวนเต็ม ได้แก่ ตัวอักษร ตัวเลขและกลุ่มตัวอักขระพิเศษใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูล 1 ไบต์
|
2
|
ข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม (Integer)
|
คือข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็ม ได้แก่ จำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ และศูนย์ ข้อมูลชนิดจำนวนเต็มใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูล ขนาด 2 ไบต์
|
3
|
ข้อมูลชนิดจำนวนเต็มที่มีขนาด 2 เท่า (Long Integer)
|
คือข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็ม ใช้พื้นที่ในการเก็บเป็น 2 เท่าของ Integer คือมีขนาด 4 ไบต์
|
4
|
ข้อมูลชนิดเลขทศนิยม (Float)
|
คือข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยม ขนาด 4 ไบต์
|
5
|
ข้อมูลชนิดเลขทศนิยมอย่างละเอียด (Double)
|
คือข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยม ใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลเป็น 2 เท่าของ float คือมีขนาด 8 ไบต์
|
รหัสควบคุม
รหัสควบคุมจะเริ่มต้นด้วยตัวอักษร back slash(\) ตามด้วยตัวอักษรพิเศษ รหัสควบคุมที่นิยมใช้กันทั่วไปมีดังนี้คือ
ค่าคงที่ตัวอักษร
|
รหัสควบคุม
|
Bell(Alert)
|
\a
|
Backspace
|
\b
|
Horizontal tab
|
\t
|
Newline(Line Feed)
|
\n
|
Vertical tab
|
\v
|
Form feed
|
\f
|
Carriage return
|
\r
|
Quotation mark(“)
|
\”
|
Apostrophe(‘)
|
\'
|
Null
|
\0
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น